สกู๊ปพิเศษ : หมวกกันน็อคช่วยด้วย..!!

 

 

                ยิ่งนับวันหมวกกันน็อคยิ่งมีความจำเป็นเพราะจากสถิติการ
เกิดอุบัติเหตุพบว่ามักเกิดกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในตอนกลางคืนซึ่ง
ไม่ค่อยมีผู้คนพบเห็น ส่งผลให้ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทันท่วงที...

น็อคช่วยด้วย" ขึ้น...

                    สุวิทย์ มีโค วัย 19 ปี นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 1 ในทีมที่ประดิษฐ์หมวกกันน็อค
    ช่วยด้วย แจกแจงขั้นตอนการประดิษฐ์คิดค้นหมวกกันน็อคชนิดนี้ว่าอันดับแรกต้องสวมหมวกกันน็อคช่วยด้วย
    เข้ากับศีรษะ พร้อมดึงสายรัดคาง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ศีรษะเอียงทำมุมกับพื้น 45 องศา วงจรสวิตช์จะเริ่มทำ
    งาน ทำให้วงจรภายในต่อถึงกัน เกิดสัญญาณไฟแสงสว่างกะพริบ และมีเสียงเตือนดังขึ้น สัญญาณไฟกะพริบและ
    เสียงจะทำงานนานประมาณ 1-2 ชั่วโมง ทำให้ผู้สัญจรผ่านไปมาสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย

                    "หมวกกันน็อคที่ประดิษฐ์ขึ้นตก 500-700 บาทผมและเพื่อนประมาณ 10 คน ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียน
    ประดิษฐ์หมวกกันน็อคมาแล้ว 2 ปี โดยแบ่งหน้าที่ให้สมาชิกแต่ละคนรับผิดชอบทำชิ้นส่วนก่อนจะนำมาประกอบ
    รวมกัน จึงใช้เวลาทำไม่มากนัก วันหนึ่งทำได้ 2-3 ใบ ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับจากผู้ใช้เป็นอย่างดี มีคนชมว่า
    ความคิดดี ทำให้มีกำลังใจ และภูมิใจที่ได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้จริง ซึ่งน่าจะดียิ่งขึ้นถ้ามีรายได้เลี้ยงตนเองและ
    ครอบครัว"

ที่มา : มติชนรายวัน