Motorrad ทดสอบยางครูสเซอร์ ยก Michelin Commander 3 Cruiser ขึ้นแท่นอันดับ 1

 

Motorrad ทดสอบยางครูสเซอร์ ยก Michelin Commander 3 Cruiser ขึ้นแท่นอันดับ 1

สำหรับนักบิดอย่างเรา วันที่ฝนตกเป็นช่วงที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะยางที่เหมาะกับสภาพถนนเปียกไม่ได้มีให้เลือกมากนัก ยังดีที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญกับเรื่องนี้แล้ว! วันนี้เรามาดูการทดสอบยางจากนิตยสาร Motorrad กันดีกว่าว่า ยางรุ่นไหนที่เป็นที่สุดในสภาพพื้นถนนเปียก ในการทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบยาง 7 รุ่นที่เหมาะกับรถช้อปเปอร์และครูสเซอร์ โดยเป็นการทดสอบเต็มอัตราท่ามกลางสายฝน!!!

หลังจากการทำงานหนักในออฟฟิศที่แสนยาวนาน คงจะดีถ้าเราได้ซิ่งรถจักยานยนต์เครื่อง V-Twin สีสันสดใสกลับบ้าน แม้จะรำคาญใจกับรถติดอยู่บ้าง แต่เรายังสุขใจที่ได้ขี่มอเตอร์ไซต์ฮาร์เลย์ของเรา แต่ถ้าวันนั้นดันเกิดมีเมฆฝนดำทะมึนโผล่มา หรือเจอฝนตกจนพื้นถนนเปียกลื่น การขี่รถฮาเลย์ของเราก็ดูอันตรายขึ้นมาในทันที เพราะมันไม่เหมาะกับวันฝนตกเอามากๆ  จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราพบข้อมูลรีวิวไปในทิศทางเดียวกันว่ารถฮาเลย์ “ไม่เหมาะกับการขับขี่ในขณะฝนตก” และ “อันตรายมากเมื่อขับขี่บนพื้นถนนที่เปียก” …เราอยากบอกว่า จริงๆ แล้วสาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่รถหรอก แต่ปัญหานั้นอยู่ที่ “ยาง” ต่างหาก

 

 

ตอนนี้คงมีคนคิดแบบโลกสวยว่าแค่เปลี่ยนยางก็จบเรื่องแล้วไม่ใช่เหรอ แต่จริงๆไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะการออกแบบและผลิตยางมักมีข้อจำกัดและข้อกำหนดต่างๆ จากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ ดังตัวอย่างกรณีของฮาร์เลย์นี้ โรงงานผู้ผลิตรถตั้งมาตรฐานเอาไว้ว่า ยางที่ใช้จะต้องวิ่งได้ถึงระยะ 15,000 หรือ 20,000 หรือ 30,000 กม. และยิ่งกว่านั้น ในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกายังตั้งมาตรฐานการทดสอบระยะทางอย่างไม่สิ้นสุด

ในปัจจุบันทาง มิชลิน ได้ร่วมพัฒนา และปรับมาตรฐานการผลิตยางเพื่อป้อนให้กับฮาร์เลย์แล้ว การเป็นซัพพลายเออร์ให้แก่ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์นั้นจะต้องปรับมาตรฐานยางของตัวเองให้เข้ากับผู้ผลิต และดึงความสามารถที่โดดเด่นของตัวเองออกมา มิชลินจึงใช้ความโดดเด่นนี้ในการแก้ปัญหาให้กับฮาร์เลย์ โดยเฉพาะความสามารถในการใช้งานท่ามกลางสายฝน เพื่อเสริมศักยภาพให้กับตัวรถเพิ่มขึ้นไปอีกระดับ

 

 

สำหรับตลาดของยางประเภทนี้จึงไม่มีใครสนใจพัฒนามาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แม้ว่ายางประเภทอื่นจะได้รับการพัฒนาไปไกลแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทซุปเปอร์สปอร์ตเตอร์ แฟตทัวเรอร์ หรือว่าเอ็นดูโร ที่มีเนื้อยางให้เลือกอย่างหลากหลาย

ในตอนนี้รถจักรยานยนต์ที่ผลิตออกมาแทบจะไม่กลัวอะไรเลย นอกจาก “กลัวน้ำ” เหตุผลหลักคือต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ยังดีที่ผู้ผลิตให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยมากขึ้นแล้ว ลองคิดดูนะ ถ้ารถจักรยานยนต์น้ำหนักขนาด 350 กิโลกรัม เกิดลื่นไถลขึ้นมาแล้วใครๆก็เอาไม่อยู่ต่อให้ มาร์ค มาร์เกซ ก็เถอะ!!

 

 

คราวนี้มาดูกันว่า นิตยสาร Motorrad ทดสอบยางอย่างไรบ้าง?

การทดสอบนี้จะเน้นวิเคราะห์สมรรถนะของยางบนพื้นถนนที่เปียกลื่น โดยใช้พื้นที่การทดสอบที่จัดเตรียมไว้ในเมืองเน็ตตูโนใกล้กรุงโรม สภาพเส้นทางที่อยู่ในการควบคุมนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่า ผลลัพธ์ที่ได้จะสามารถนำไปเปรียบเทียบและทำซ้ำได้ โดยการทดสอบนี้มุ่งไปที่การพัฒนายางรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ

ความคล่องตัว
คือการควบคุมรถให้เลี้ยวไปมาตามต้องการ และทรงตัวได้ดีเมื่อบังคับเลี้ยวรถ

ความแม่นยำในการควบคุมรถ
คือความสามารถในการบังคับรถด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน บนถนนที่คดเคี้ยวไปมา และบ่งชี้ให้เห็นว่ารถมุ่งไปตามเส้นทางที่ต้องการหรือไม่

ลักษณะเฉพาะตัว
แสดงให้เห็นถึงขีดสุดความสามารถเฉพาะทางของยาง  ในการทดสอบบนถนนเปียก

การยึดเกาะ/การเร่ง
กำหนดความมั่นคงด้านข้างและการส่งกำลังในสภาพเปียก ขณะเลี้ยวในความเร็วต่างๆ

การยึดเกาะ/องศาการเอียง
คือความมั่นคงด้านข้างขณะเอียงสูงสุดในสภาพเปียก เป็นการรักษาสมดุลที่ยากมากที่เป็นไปได้บนเส้นทางทดสอบเท่านั้น

การทรงตัวขณะเข้าโค้ง
ทดสอบการเอียงของรถ (ทั้งซ้ายและขวา) การเข้าโค้งและผ่านเนิน โดยทดสอบด้วยวิธีต่างๆ (ขี่คนเดียว/มีนักทดสอบร่วม) ในตำแหน่งองศาถนนที่มีความลาดเอียงมากขณะเร่งเครื่อง

ความเสถียรของรถเมื่อขับขี่ทางตรง
ทดสอบขับด้วยความเร็วสูง เพื่อดูว่าจักรยานยนต์ยังคงขับนิ่งบนเส้นทางได้อย่างเสมอต้นเสมอปลายหรือแกว่งไปแกว่งมาขณะขับขี่

แรงบิดเชิงมุม
หมายถึงการทำให้รถตั้งตรงเมื่อเบรกในตำแหน่งเอียง ปฏิกิริยานี้ต้องได้รับสมดุลด้วยแรงต้าน (ผลัก) บริเวณปลายด้านในของคันเร่งควบคุม

 

 

มิชลิน คอมแมนเดอร์ 3 ครูสเซอร์

ข้อมูลและคุณสมบัติจำเพาะ

น้ำหนัก: ยางหน้า 6.6 กก. ยางหลัง 8.6 กก.

ลาดเอียงสูงสุดเมื่อเปียก: 29.3 องศา

ระยะเบรกจาก 100 กม./ชั่วโมง เมื่อเปียก: 44.3 ม.

รอบเวลาบนเส้นทางเปียก: 1:13.5 วินาที

ประเทศผู้ผลิต: ไทย

แรงดันลมยาง (ตามคุณสมบัติจำเพาะของผู้ผลิต)

2.6 บาร์ล้อหน้า, 2.8 บาร์ล้อหลัง

 

 

การทดสอบ

การขี่ทดสอบ : (86 คะแนน ลำดับที่ 1) ด้วยประสิทธิภาพในการทดสอบที่น่าประทับใจ ในรถจักรยานยนต์ฮาร์เลย์ที่ใช้ยางมิชลินทดสอบ บนสนามแข่งที่ต้องขับขี่แบบพื้นเปียกต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับยางเดิมติดรถจักรยานยนต์รุ่นเฮอริเทจคลาสสิค ผ่านการทดสอบการเข้าโค้งหน่วยโอเมก้าที่ยาวและการเอียงรถเกือบ 10 องศา จึงสามารถพิสูจน์ข้อจำกัดการยึดเกาะถนนได้แม่นยำ เมื่อขี่ในเส้นทางตรง ยางคอมแมนเดอร์ 3 ครูสเซอร์ สร้างความประทับใจด้วยแรงยึดเกาะของล้อหลังที่ช่วยให้วิ่งไปข้างหน้าทรงพลัง และเมื่อเบรกนับจาก 100 กม./ชั่วโมง รถหยุดได้เต็มประสิทธิภาพที่ประมาณ 44 เมตร และยังไม่มีใครทำลายสถิตินี้ได้!

สรุป ยางคอมแมนเดอร์ 3 มิชลิน สานต่อธรรมเนียมที่ไม่ยอมปล่อยให้ใครครองความเป็นหนึ่งไปจากแบรนด์ได้ เมื่อพูดถึงสมรรถนะในสภาพอากาศเปียก จึงได้ข้อสรุปที่น่าประทับใจ 2 คำ คือ “ที่หนึ่ง” (Test Champion)

 

มอเตอร์ราด ให้การจัดอันดับระดับ : ดีมาก

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

เราแสดงให้เห็นถึง “การขับขี่เพื่อให้ได้เวลาต่อรอบที่ดีที่สุด (flying lap)” ของยางสองรุ่นที่นำมาเปรียบเทียบกัน รายละเอียดสมรรถนะบนถนนเปียก สามารถวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงลึกที่น่าประทับใจโดยใช้บันทึกข้อมูลสองมิติ จากคุณสมบัติของสนามแข่ง จะเห็นการเข้าโค้งในแบบต่างๆ ที่จะทำให้เห็นศักยภาพของยางทั้งหมดได้อย่างละเอียด เส้นทางทดสอบที่เปียกอย่างสม่ำเสมอถูกใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อทดสอบขีดจำกัดของยางแต่ละประเภท

แรงยึดเกาะของล้อหลังที่ช่วยผลักให้จักรยานยนต์วิ่งไปข้างหน้าเมื่อเร่ง แรงยึดเกาะเมื่อเบรก และเสียงตอบรับตอนเข้าโค้ง โอเมก้าเป็นไฮไลท์ที่เผยให้เห็นถึงศักยภาพอันโดดเด่น การเข้าโค้งรูปตัว “ยู” ที่คุณต้องเข้าใกล้ขีดจำกัดของตำแหน่งการเอียงของหน้ายาง รายละเอียดที่น่าสนใจคือ พื้นที่ๆได้รับการออกแบบมาให้ผู้ทดสอบสามารถเข้าถึงเกณฑ์การลื่นไหลได้มากที่สุด

การเปรียบเทียบนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่ายางมิชลินคอมแมนเดอร์ 3 สามารถขับเคลื่อนได้รวดเร็ว ปลอดภัย และมั่นใจท่ามกลางสายฝนด้วยแรงยึดเกาะของยางที่มีต่อทางวิ่ง ไม่ว่าขณะเลี้ยวโค้ง เร่งออก หรือเบรกที่ทั้งหมดทำได้อย่างยอดเยี่ยม

 

 

คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของยางมิชลินนี้ คือ เนื้อยางแบบ 2 คอมปาวน์ (Bi-Compound) ของล้อหลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะถนนในขณะรถวิ่ง ไม่ว่าขณะเลี้ยวโค้ง เร่งออก หรือการเบรก รวมถึงทำได้ดีในสภาพอากาศที่มีความแตกต่างกัน

การทดสอบนี้แสดงให้เห็นถึงความดุเดือดในการเปรียบเทียบคุณสมบัติของยาง ซึ่งมิชลินก็ไม่ได้ชะล่าใจ โดยไม่นานมานี้เพิ่งเปิดตัวยางมิชลินคอมแมนเดอร์ 3 ด้วยกัน 2 เวอร์ชั่น คือ ยางครูสเซอร์และยางทัวริ่ง ยางครูสเซอร์ติดตั้งลงบนจักรยานยนต์ฮาร์เลย์ ซึ่งผลทดสอบแสดงให้เห็นถึงศักยภาพท่ามกลางสายฝนที่ไม่เป็นรองใคร นอกจากนี้มิชลินยังมีความเชี่ยวชาญพิเศษในส่วนของยางที่เหมาะทุกฤดูกาล นั่นคือยางตระกูล ไพล็อต-พาวเวอร์ ซึ่งเนื้อยางของคอมแมนเดอร์ 3 เองก็มีซิลิก้าคุณภาพสูงเป็นส่วนประกอบ จึงสามารถสร้างความประทับใจในการทดสอบบนเส้นทางทดสอบเปียกได้เช่นเดียวกัน

ยางที่มีคุณภาพสูงเฉพาะทาง อาจไม่ได้เป็นยางที่ติดรถมาตั้งแต่แรก แต่เป็นที่แน่นอนว่า ยางรุ่นนี้จะเป็นตัวเลือกอันดับแรก สำหรับเจ้าของรถครุยเซอร์ที่เห็นความสำคัญในการขับขี่อย่างปลอดภัยในทุกฤดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน

ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา พบว่าเหตุผลหลักที่ซื้อยางคือต้องการใช้งานได้ยาวนาน แต่มีข้อสังเกตว่า พวกเขาต้องการได้ยางที่มีความปลอดภัยในการใช้งานขณะฝนตกมากขึ้น และนี่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

การประเมินขั้นสุดท้าย : สมรรถนะบนถนนเปียก

 

 

บทสรุป

ในการทดสอบยางครั้งนี้ เราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับผลการทดสอบบนเส้นทางแห้ง  เพราะบนทางแห้ง รถจักรยานยนต์ที่ใช้ทดสอบมีผลต่อผลการทดสอบมากกว่าประเภทของยางที่ใช้  และด้วยความที่ ฮาร์เลย์ ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการขับขี่บนถนนแบบเปียก เราจึงฟันธงเลยว่า ยางมิชลิน คือของจริงที่โดดเด่นและเพิ่มความปลอดภัยบนถนน และเหมาะกับนักขี่ที่ต้องการออกไปตะลุยถนนได้ในทุกสภาพอากาศ โดยไม่ต้องกลัวฝนอีกต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.michelin.co.th
line@ : Michelinthailand
https://www.facebook.com/MichelinThailand/
Call Center : +662 7003993
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดยมิชลิน

Source Cr.: Motorrad

Editor : Jorg Lohse

 

ติดตามข่าวสารวงการมอไซค์ : http://www.mocyc.com
Page Facebook : http://www.facebook.com/MocycThailand
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC2zealFH63iys1sWHW6xFOg?view_as=subscriber
IG : MocycThailand