คล่องตัว ประหยัดน้ำมัน บำรุงรักษาง่าย ราคาถูก คือแนวทางที่ยังคงสืบทอดสู่ Super Cub

คล่องตัว ประหยัดน้ำมัน บำรุงรักษาง่าย ราคาถูก คือแนวทางที่ยังคงสืบทอดสู่ Super Cub จนเกือบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยอดขายรวมจากทั่วโลกกว่า 30 ล้านคัน
ฉบับที่
405 ปรับปรุงข้อมูลวันที่ : 20/5/2547 14:56:06
คอลัมน์
Classic Bike  
เรื่อง
AJS (Alongkorn James Sriwang) 
ภาพ
AJS (Alongkorn James Sriwang)

     ได้ครา...สงเคราะห์แฟนรถคลาสสิค "ปลาดิบ" สักทีหลังทนกระแสความคลั่งเครื่อง "บล็อก C" ไม่ไหว...แต่...อย่างหนึ่งที่ต้องออกตัวล่วงหน้า เหตุเพราะไปค่อยจะได้เอาตัวเองเข้าไปพัวพันกับ "รถกระแส" แบรนด์นี้สักเท่าไหร่ เลยค่อนข้างจะ...งมเข็ม!?!?! โชคอำนวยแต่ปางเก่า หลังแว่วข่าวว่าเพื่อนในวงการที่เล่น "รถฝรั่ง" ซุ่มเงียบแต่มองการไกล ได้ฤกษ์เผยรถเล็กในอาณัติที่อมพะนำรถเล็กบล๊อกเล็กรหัสนี้ไว้เกือบครึ่งโหล...วันนัด...ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งพระนคร ผ้าเต้นท์ฝืนโตถูกสะบัดจนฝั่นตลบ รถเล็กเวอร์ชั่น "ไฟล่าง" เผนโฉมสมคำโว เราเดินคัดตัวเด็ดๆ ไว้ 3 คัน...ก่อนเริ่มหยิบจับเครื่องมือทำความสะอาด...จัดคอมโพสฯ...พลางก็สนทนาตามประสาคนใคร่รู้...!?!?!



     เครื่องยนต์ "บล็อก C" หรือที่เข้าใจตรงกันว่า Super Cub เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1958 จากแนวความคิดที่จะรวมรถขนาดเล็ก (Scooter) เข้ากับรถเอนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย (Moped) เข้าด้วยกัน ในขณะที่ราคาขายในท้องตลาดก็เรียกว่าถูกมาก เครื่องยนต์ขนาเล็กความจุเพียง 49 ซี.ซี. OHV แบบ 4 จังหวะ ก้านกระทุ้ง กับความเร็วสูงสุดเพียง 40 mph. (64 กม. /ชม.) กลับโด่งดังอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ในขณะที่เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะคือเจ้าตลาดในสมัยนั้น...ในปี 1959 Super Cub เข้ามาตีตลาดในอเมริกาได้อย่างถล่มทลาย และยังคงสร้างความคลั่งใครและกล่าวขวัญถึงอย่างต่อเนื่อง...คล่องตัว ประหยัดน้ำมัน บำรุงรักษาง่าย ราคาถูก คือแนวทางที่ยังคงสืบทอดสู่ Super Cub ตลอด 35 ปีจนเกือบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยอดขายรวมจากทั่วโลกกว่า 30 ล้านคัน (ในปี 1965 ในอเมริกาขายได้ถึง 268,000 คัน) ผลักดันให้โรงงานจาก "ปลาดิบ" ค่ายนี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตอันดับต้นของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

รหัส C100 ตระกูลไฟล่างบล๊อกนี้คือเวอร์ชั่นส่งออกตลาดโลกที่โด่งดัง แบบฉบับแฮนด์ปีกนกทรงคลาสสิคแบบนี้ ในสาย "ปลาดิบ" ตอนนี้เรทติ้งจึงมาเป็นอันดับต้น และแปลกตาตรงที่การออกแบบชุดไฟท้ายและไฟเลี้ยวหลังทั้งสีสันและรูปทรงดูโมเดิลสุดๆ ส่วนเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 50 ซี.ซี. 3 เกียร์ โดดเด่นตรงที่เป็นเวอร์ชั่นส่งออกจึงติดตั้งระบบ "สตาร์ทด้วยไฟฟ้า" เข้าไป แคร้งเครื่องยนต์จึงไร้พันธนาการจากคันสตาร์ทให้เกะกะตา สังเกตได้จากสวิสช์สตาร์ทเล็กๆ ที่ประกับเร่ง

รหัส C102 มีการพัฒนาเครื่องยนต์ขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ยังคงใช้พื้นฐานเครื่องยนต์เสื้อสูบแบบเหล็กหล่ออย่าง รหัส C100 ที่ปรับเปลี่ยนออปชั่นภายนอกบางอย่างเข้าแทนที่โดยเฉพาะชุดไฟท้าย และอัพเกรดเครื่องยนต์เป็นขนาด 55 ซี.ซี. 3 เกียร์ เวอร์ชั่นนี้เข้าใจว่าเข้ามาจำหน่ายในบ้านเราตัวแรกๆ และที่เห็นก็มีเฉพาะเวอร์ชั่นสตาร์ทเท้าเท่านั้น

รหัส C110 ยังคงเป็นพื้นฐานเครื่องยนต์จากตระกูลบล๊อก C100 หลังจากมั่นใจว่าบล็อกนี้กำลังไปได้สวย HONDA กล้าเสนอตัวเลือกด้วยรถสปอร์ตขนาดเล็ก คลัตช์มือเต็มรูปแบบ เครื่องยนต์ยังคงขนาด 50 ซี.ซี. แต่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นเสื้อสูบแบบอะลูมิเนียมที่ช่วยระบายความร้อน ส่วนชุดเกียร์ก็ปรับเพิ่มเป็น 4 เกียร์ กับเอกลักษณ์ท่อยกทรง Scarmble แต่ยังคงการทำงานและระบบแอฟซอฟแบบเดียวกัน ที่เป็นระบบกระบอกเหลี่ยมขึ้นรูปคานสวิง (Pressedsteel leading-link forks) และสวิงอาร์มโช้คน้ำมัน

     Super Cub มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างน้อยมาก จุดสังเกตุตรง "ไฟหน้า" บ้านเราจึงจำแนกเป็น 2 เวอร์ชั่น...ไฟล่าง...ไฟบน บล็อกเครื่องยนต์เสื้อเหล็ก ก้านกระทุ้ง ขนาด 50/55 ซี.ซี. "ไฟล่าง" รหัส C100/C102/105 คือความต้องการในอันดับสูงสุด กระทั้งรหัส "C" ยังคงเพิ่มออปชั่น CS แบบสปอร์ตท่อยกคลัตช์มือ และ CL เวอร์ชั่น Scramble แฮนด์เดิ้ลทรงสูง และเพิ่มระบบสตาร์ทไฟฟ้าในบางโมเดล...ในปี 1966 ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ Super Cub ด้วยเวอร์ชั่น "ไฟบน" บล็อกเครื่องยนต์เสื้ออะลูมิเนียม โซ่ราวลิ้น ขนาด 50/65/70/90 ซี.ซี. แต่ "The Cub" ยังคงการทำงานด้วยระบบรับแรงแบบกระบอกเหลี่ยมขึ้นรูปคานสวิง (Pressedsteel leading-link forks) และสวิงอาร์มโช้คน้ำมันที่เป็นเอกลักษณ์จนชินตากระทั่ง...ปัจจุบัน...!?!?!

S p e c i f i c a t i o n
รถ
HONDA SUPER CUB
รุ่น
C100
C102
C110 SPORT
ปีผลิต
1958-59
1958-59
1960
เจ้าของ
ตู่ ถนนตก
เครื่องยนต์
1 สูบ 4 จังหวะ (ก้านกระทุ้ง)
ปริมาตรกระบอกสูบ
50 ซี.ซี.
55 ซี.ซี.
50 ซี.ซี.
ระบบไฟ
AC หน้าทองขาว
ระบบเกียร์
3 เกียร์
3 เกียร์
4 เกียร์
ระบบคลัตช์
น้ำมัน (หลาย แผ่น)
ระบบขับเคลื่อน
โซ่
ระบบโช้คอัพ (หน้า/หลัง)
กระบอกเหลี่ยมขึ้นรูปคานสวิง / สวิงอาร์มโช้คน้ำมัน
ระบบเบรก (หน้า/หลัง)
ดรัมเบรก (ดุมเต็ม)
ล้อ (หน้า/หลัง)
17/225 - 17/250
อ้างอิง : THE ENCYCLOPIDIA OF THE MOTOCYCLE / Hugo Willson
: ON 2 WHELL / Roland Brown
: www.honda.com/motorcycles/heritage/50