รู้จักการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA คืออะไร เหมาะกับใครบ้าง
- จิปาถะ อื่นๆ
-
nanasese
- 16
- 01 พ.ย. 2565 11:37
- 115.87.232.***
สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก การเก็บอสุจิและไข่จากคู่สมรสถือเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนเริ่มการทำเด็กหลอดแก้วหรือการผสมเทียม เพราะอสุจิและไข่ที่สมบูรณ์ย่อมนำไปสู่โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ และเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งวิธีการเก็บอสุจิก็สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสุขภาพของฝ่ายชาย วันนี้เราจะไปเจาะลึกการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA กันว่าคืออะไรกันแน่ แล้วใครบ้างที่ควรใช้การเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA
การเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA คืออะไร?
ภาวะการมีบุตรยาก ไม่สามารถมีบุตรได้เองตามธรรมชาติที่เกิดจากฝ่ายชายอาจมีสาเหตุมาจากน้ำเชื้อไม่มีตัวอสุจิ เป็นหมัน ท่อนำอสุจิมีปัญหา การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะจึงเป็นวิธีที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ โด้วยการทำ PESA หรือ Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration จะเป็นการใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปยังบริเวณท่อพักน้ำเชื้อหรือท่อนำอสุจิส่วนต้น (Epididymis) เพื่อนำน้ำเชื้อไปตรวจวิเคราะห์หาตัวอสุจิและประเมินคุณภาพ ซึ่งแผลจากการใช้วิธีนี้เก็บอสุจิจะมีขนาดเล็กมากจนแทบมองไม่เห็น และการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA เป็นวิธีที่เจ็บน้อยกว่าและได้น้ำเชื้อกับตัวอสุจิที่มีคุณภาพดีกว่าการทำ TESA (การเก็บอสุจิจากเนื้อเยื่ออัณฑะ) แต่มีข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือสามารถใช้ได้กับผู้ชายที่ยังมีท่ออสุจิอยู่เท่านั้น
ขั้นตอนในการรักษา
-
ตรวจหาภาวะการเป็นหมันหรือปัญหาของท่อนำอสุจิ
-
แพทย์ทำการนัดหมายวันมาทำการเก็บเชื้ออสุจิจากอัณฑะ
-
ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อทำความสะอาดอัณฑะและบริเวณโดยรอบ
-
วิสัญญีแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ และบางกรณีอาจร่วมกับการให้ยาระงับความรู้สึกผ่านหลอดเลือดด้วย
-
ใช้เข็มขนาดเล็กดูดน้ำเชื้อจากท่อนำอสุจิส่วนต้นเพื่อนำน้ำเชื่อไปตรวจหาเชื้ออสุจิ
-
นอนพักฟื้น 1-2 ชั่วโมงแล้วสามารถกลับบ้านได้
-
แพทย์จะนำอสุจิที่ได้คุณภาพไปผ่านกระบวนการในห้องปฏิบัติการเพื่อรอปฏิสนธิกับไข่ด้วยกระบวนการ ICSI ต่อไป
ใครบ้างเหมาะกับการเก็บเชื้ออสุจิด้วยวิธี PESA
-
ผู้ที่อัณฑะทำงานผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือการติดเชื้อคางทูม ทำให้ไม่สามารถสร้างเชื้ออสุจิได้ตามปกติ
-
ผู้ที่มีปัญหาท่อนำอสุจิอุดตันหรือไม่มีท่อนำอสุจิตั้งแต่กำเนิด พบได้ในผู้ที่เป็นพาหะโรค Cystic Fibrosis
-
ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อ ได้รับบาดเจ็บ หรือเคยได้รับการผ่าตัดซึ่งส่งผลต่อการมีบุตรยาก
-
ผู้ที่เคยผ่านการทำหมันมาแล้วหรือเคยแก้หมันแล้วไม่สำเร็จ
24 พ.ย. 2566
05 มิ.ย. 2566
06 เม.ย. 2566
31 ธ.ค. 2565
12 ธ.ค. 2565
10 ธ.ค. 2565
30 พ.ย. 2565
30 พ.ย. 2565
26 พ.ย. 2565
24 พ.ย. 2565