ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งดีอย่างไร? ช่วยแก้ฟกช้ำได้จริงหรือไม่?

  • จิปาถะ อื่นๆ
  • nanasese
  • 0
  • 12 ม.ค. 2566 15:22
  • 223.27.244.***

    หากให้พูดถึงหนึ่งในยาสามัญประจำบ้าน ที่ทุกบ้านต้องมีติดตู้ไว้ เพื่อใช้ในการบรรเทาอาการเจ็บป่วยเหล็ก ๆ น้อย ๆ หนึ่งในนั้นก็คือ ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ซึ่งหลายคนนำมาทาแก้ฟกช้ำ หรือนำมาดมเพื่อแก้อาการวิงเวียน แล้วเคยสงสัยไหมว่า ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ช่วยแก้ฟกช้ำได้จริงหรือไม่ แล้วนอกจากใช้ทาแก้อาการฟกช้ำแล้ว ยังใช้ในการบรรเทาและรักษาอะไรได้อีกบ้าง เราจะมาสรุปให้คุณฟังกันในบทความนี้

ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง คืออะไร?

    ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง เป็นยาสามัญประจำบ้านที่หลายบ้านย่อมมีติดตู้ยาไว้ โดยยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง จะมีลักษณะเป็นขี้ผึ้งเนื้อเหลวอ่อน มักมีกลิ่นหอม ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ใช้สำหรับทาแก้ฟกช้ำดำเขียว และใช้สำหรับทาถู นวด บรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย ทั้งยังใช้ในการบรรเทาอาการหน้ามืดวิงเวียน คัดจมูกเนื่องจากหวัด หน้ามือตาลาย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอื่น ๆ อีกมากมาย 

ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง มักมีส่วนผสมของสารระเหยและสารสกัดจากสมุนไพรหลายชนิด เช่น เมนทอล การบูร บางสูตรอาจมีสารเมทิลซาลิไซเลต (Methyl Salicylate) ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มสรรพคุณบรรเทาอาการปวดให้ดียิ่งขึ้น

 

ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งเพื่อแก้ฟกช้ำ และบรรเทาอาการอื่น ๆ

  • ในการใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งเพื่อแก้ฟกช้ำ และบรรเทาอาการอื่น ๆ ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด 

  • ไม่ควรใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งในปริมาณมากเกิน น้อยเกิน หรือใช้ติดต่อกันนานกว่าที่กำหนด

  • ล้างมือก่อนและหลังจากใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งทุกครั้ง

  • หากยาหม่องชนิดขี้ผึ้งเข้าตา จมูก หรือปาก ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดทันที

  • เก็บยาหม่องชนิดขี้ผึ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง ป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดด และปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้

 

ข้อควรระวังในการใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งเพื่อแก้ฟกช้ำ และบรรเทาอาการอื่น ๆ

  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ถึงแม้จะใช้ทาเพื่อแก้ฟกช้ำได้ แต่ก็ยังไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวบอบบางหรือผิวแพ้ง่ายควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้

  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง อาจไม่สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรได้ ก่อนใช้จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

  • ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ห้ามใช้กับทารกหรือเด็กเล็ก หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

  • ห้ามกลืนหรือรับประทานยาหม่องชนิดขี้ผึ้งโดยเด็ดขาด

  • ห้ามใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งทาบริเวณผิวที่แห้ง แตก แพ้ง่าย ผิวไหม้จากแสงแดด หรือมีแผล

  • ห้ามใช้ยาหม่องชนิดขี้ผึ้งทา แล้วใช้ผ้าพันแผลพันบริเวณผิวหนังที่ป้ายยา

  • ห้ามให้ผิวบริเวณที่ป้ายยาหม่องชนิดขี้ผึ้งสัมผัสความร้อน ควรหลีกเลี่ยงการแช่น้ำร้อน ซาวน่า หรือใช้แผ่นประคบร้อน

  • ห้ามทายาหม่องชนิดขี้ผึ้งภายใน 1 ชั่วโมงก่อนอาบน้ำ และ 30 นาที หลังอาบน้ำ