จาะลึก! Biodegradable Plastic คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

  • จิปาถะ อื่นๆ
  • nanasese
  • 0
  • 01 พ.ย. 2565 11:28
  • 115.87.232.***

    ในยุคสมัยที่ผู้คนต่างตระหนักรู้ในปัญหาของสิ่งแวดล้อม และต้องการที่จะดูแลรักษาธรรมชาติให้มากขึ้น ‘พลาสติก’ จึงกลายเป็นตัวร้ายที่ทำลายมลพิษ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากถึงแม้ว่าพลาสติกจะสะดวก และง่ายต่อการใช้ แต่สารประกอบในพลาสติกบางชนิดก็ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ รวมถึงปัญหาที่เป็นภาระในการจัดเก็บ และการทำลาย โดยเฉพาะกับพลาสติกบางชนิดที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จนอาจส่งผลต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อม

 

 

    ถึงแม้การใช้พลาสติกจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะพลาสติกเองก็มีหลากหลายประเภท อย่างพลาสติกชีวภาพ หรือ Biodegradable Plastic ซึ่งคือพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร (Biobased) หรือจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petrobased) โดยมีลักษณะคล้ายพลาสติกทั่วไป ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต Biodegradable Plastic คือ ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง

 

ที่มาของ Biodegradable Plastic คืออย่างไร

  • ผลิตจากวัสดุจากพืช เช่น มันสำปะหลัง พืชตระกูลถั่ว อ้อย ข้าวโพด

  • ใช้กระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์ ผลิตเป็นเม็ดพลาสติกชีวภาพ

  • ผ่านกรรมวิธีขึ้นรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ 

    

ประโยชน์ของ Biodegradable Plastic คืออะไร

  • สามารถรีไซเคิล และย่อยสลายง่าย เนื่องจากทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ จึงสามารถย่อยสลายได้ง่าย

  • ช่วยลดปริมาณขยะบนโลก เนื่องจากย่อยสลาย และรีไซเคิลง่ายกว่าพลาสติกแบบปกติ

  • ใช้ทรัพยากรน้อยลง ตามปกติแล้วพลาสติกแบบธรรมดาจะใช้ปิโตรเลียมซึ่งมีปริมาณจำกัดในการผลิต พลาสติกชีวภาพจึงมาช่วยให้การใช้ปิโตรเลียมน้อยลง

  • ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากกระบวนการผลิตพลาสติกแบบปกตินั้นต้องมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก 

 

ข้อเสียของ Biodegradable Plastic คืออะไร

  • มีราคาสูง เนื่องจากกระบวนการผลิตต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง 

  • ไม่สามารถแก้ปัญหาทางทะเลได้ เนื่องจากเมื่อพาสติกชีวภาพอยู่ในทะเล จะยังไม่สามารถย่อยสลายได้เร็วขนาดนั้น

 

นอกจาก Biodegradable Plastic พลาสติกที่ย่อยสลายได้แบบอื่น คืออะไรบ้าง

  • พลาสติกที่ย่อยสลายได้ด้วยแสง (Photodegradation) 

โดยเกิดจาการเติมแต่งสารที่มีความไวต่อแสงลงไปเพื่อทำลายพันธะเคมีของพลาสติก หรือ จะทำการสังเคราะห์ให้เกิดการแตกหักง่ายเมื่อได้รับแสงแดด หรือ รังสียูวี แต่จะใช้ไม่ได้กับขยะที่เป็นบ่อฝังกลบที่ไม่ได้รับแสงแดด หรือ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้รับยูวีโดยตรง

  • การย่อยสลายโดยปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Degradation) 

เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนลงในโมเลกุลของพอลิเมอร์อย่างช้า ๆ โดยมีออกซิเจน และความร้อน แสงยูวี หรือแรงทางกลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเติมสารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) การแตกตัวของสารประกอบไฮโดรเปอร์ออกไซด์เป็นอนุมูลอิสระ (free radical) ทำให้สายโซ่พอลิเมอร์เกิดการแตกหักและสูญเสียสมบัติเชิงกลรวดเร็วยิ่งขึ้น

  • การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolytic Degradation) 

เป็นปฏิกิริยาก่อให้เกิดการแตกหักของสายโซ่พอลิเมอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้คะตะลิสต์ (Catalytic hydrolysis) และไม่ใช้คะตะลิสต์ (Non-Catalytic Hydrolysis)