แนะนำ 5 ขั้นตอนที่ควรรู้สำหรับซื้อ บ้านมือสอง แบบ NPA ให้ได้ราคาดีแถมมีคุณภาพ

  • มอไซค์ คาเฟ่
  • jbtsaccount
  • 0
  • 25 มิ.ย. 2564 21:22
  • 171.6.154.***
วันนี้เราก็มี 5 ขั้นตอนควรรู้สำหรับซื้อบ้าน NPA ให้ได้ราคาดีแถมมีคุณภาพมาฝากกัน
 
1. ค้นหาบ้านรอการขายที่ถูกใจ
อันดับแรกที่ต้องทำเลยก็คือ การค้นหาบ้านที่เป็นทรัพย์ธนาคาร ซึ่งกำลังรอการขายทอดตลาด โดยสามารถเข้าไปเลือกดูบ้านที่ถูกใจได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ เช่น บ้านที่เป็นทรัพย์สินการรอขาย (เพิ่มเติม: https://krungthai.com/th/content/contact-us/properties-for-sale) ของธนาคารกรุงไทย หรือ NPA กรุงไทย สามารถเข้าไปเลือกดูได้ที่ https://www.npashowroom.ktb.co.th/
WebShowRoom/sale.action หรือเว็บไซต์รวมทรัพย์สิน NPA ของทุกธนาคารที่ https://www.baania.com/th เมื่อเลือกบ้านที่ถูกใจได้แล้วให้ตรวจสอบรายละเอียด เช่น ที่ตั้ง, เนื้อที่, เลขเอกสารสิทธิ์, ราคา ฯลฯ ให้ละเอียด 
 
2. นัดหมายหน่วยงานที่ดูแลทรัพย์เพื่อขอดูบ้าน
เมื่อเลือกบ้านที่ถูกใจได้แล้วก็ติดต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแล ทรัพย์ธนาคาร เพื่อนัดหมายเจ้าหน้าที่ให้พาไปดูบ้านที่ต้องการ ซึ่งเราอาจจะต้องพาผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้รับเหมาหรือวิศกรไปช่วยตรวจสอบโครงสร้างและประเมินค่าใช้จ่ายหากจำเป็นต้องซ่อมหรือปรับปรุงบ้านด้วย
 
3. เตรียมเอกสารเสนอซื้อ
เมื่อดูบ้านจนเป็นที่พอใจแล้วก็ต้องมาจัดเตรียมเอกสาร โดยหลัก ๆ ประกอบด้วยบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านและเงินประกันการซื้อทรัพย์สิน NPA ของธนาคาร เมื่อเอกสารพร้อมสรรพให้ทำแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ขอซื้อ ทรัพย์สินรอการขาย ของธนาคารและคำเสนอซื้อทรัพย์สิน NPA ซึ่งภายในจะเป็นรายละเอียดส่วนตัวของผู้ซื้อ นอกจากนี้บางธนาคารอาจจะต้องเสียเงินค่ามัดจำเพื่อขอคำขอซื้อ บ้าน npa เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของธนาคาร ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องรอผล 3 – 5 วันทำการ ในกรณีที่คำขอซื้อไม่ได้รับอนุมัติ ธนาคารจะคืนเงินมัดจำให้ 
 
4. ทำสัญญาซื้อ-ขาย
หากได้รับอนุมัติจากธนาคารจะต้องทำสัญญาซื้อขายภายใน 15 วัน นับจากวันที่ระบุในใบแจ้งผลอนุมัติ และเราต้องวางเงิน 10% ของราคาเสนอซื้อ ส่วนที่เหลืออีก 90% ต้องชำระด้วยเงินสด หลังจากนั้นก็เข้าสู่ขั้นตอนการตรวจรับบ้านเพื่อดูความเรียบร้อย งานไฟฟ้า, งานเสา, งานหลังคา, งานผนัง, งานฝ้าเพดาน ฯลฯ   ควรตรวจเช็คให้แน่ใจว่าบ้านที่เราได้มานี้จะไม่มีปัญหาโครงสร้างในระยะยาว จากนั้นค่อยโอนกรรมสิทธิ์
 
5. โอนกรรมสิทธิ์
เมื่อตรวจรับงานเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายนั่นคือ การโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน หากทรัพย์มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ค่าโอนจะเหลือ 00.1%, ค่าจดจำนอง 1% หากทรัพย์มูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ค่าโอนจะเหลือ 00.1% เช่นเดียวกัน, ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาซื้อขาย และค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 
เมื่อดำเนินการจนครบทั้ง 5 ขั้นตอนเหล่านี้แล้วก็เท่ากับว่าบ้านแบบมือสอง หลังนั้นได้กลายมาเป็นทรัพย์สินของเราอย่างสมบูรณ์ตามกฎหมาย สามารถเข้าอยู่หรือปรับปรุงได้ตามใจชอบ แต่ควรระวังค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงบ้านให้อยู่ในวงจำกัด เพราะหากไม่ควบคุมให้ดี ค่าปรับปรุงก็อาจสูงกว่าราคาบ้านได้นั่นเอง  
 
ที่มาข้อมูล
- https://www.baania.com/th/article/ขั้นตอนการซื้อและขอสินเชื่อทรัพย์รอการขาย-(npa)-5edcd921dc5fc7d611d588dd