ขึ้นทางด่วนฟรี! ทุกวันหยุดราชการ จนถึงปี 2578 เงื่อนไขยังไง ทำไมถึงไม่ต้องจ่าย?

  • ทริป ท่องเที่ยว
  • promotion
  • 1
  • 11 พ.ค. 2563 14:48
  • 101.108.107.***





ขึ้นทางด่วนฟรี ทุกวันหยุดราชการตลอดปี
ขับรถวิ่งฉิวเดินทางได้แบบสะดวกสบายสุดๆ

แล้วทำไมถึงขึ้นฟรีล่ะ แล้วฟรีไปอีกนานแค่ไหนกัน ต้องหาคำตอบแล้ว!

ช่วงก่อนหน้านี้หลายคนทำงานที่บ้าน Work From Home ก็ทำให้รถบนท้องถนนลดลงไปได้มาก แต่ทุกอย่างกำลังจะ Come Back สู่ชีวิตที่คุ้นเคยอีกครั้ง รถติดเหมือนเดิมกลับมาแน่ ตั้งแต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว บางส่วนก็เริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิศเหมือนเดิมละ งั้นหนีไปใช้ทางด่วนดีกว่า วันธรรมดาก็พบเจอกับความธรรมดาของชีวิต แต่ทุกวันหยุดพิเศษก็จะได้เจอกับความพิเศษที่ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะทางด่วนเปิด 
promotion "ขึ้นฟรี" ไม่ต้องจ่ายเงินสักบาท ดีใจมากจนอยากรัวมือๆ พร้อมกับตะโกนออกไปว่า เยี่ยมจริงๆ เยี่ยมจริงๆ เยี่ยมจริงๆ








ขึ้นทางด่วนฟรี เพราะอะไรกันแน่?

ก่อนอื่นมาดูก่อนว่า ทำไมถึงขึ้นทางด่วนฟรีล่ะ? เพราะเจ้าไวรัสโควิดหรอ ไม่ใช่จ้า ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนี้เลย อย่าเข้าใจผิดกันไปเชียวนะ เพราะเหตุผลจริงๆ มาจากสัญญาสัมปทานที่มีการปรับปรุงแก้ไขล่าสุดเมื่อเดือน ก.พ. 63 ต่างหาก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เกิดการฟ้องร้องกันในประเด็นต่างๆ ของหน่วยงานรัฐ คือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และหน่วยงานเอกชนผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มูลค่าความเสียหายกว่า 58,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงกันด้วยการยุติคดีความทั้งหมด แลกกับการขยายสัญญาสัมปทานเดิม พร้อมกับเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย เป็นผลดีกับทั้งภาครัฐและเอกชน ใครจะอยากมีคดีความติดตัวถูกมั้ย ถ้าตกลงกันได้ก็ควรจะทำแหละ







• ขยายระยะเวลาสิ้นสุดสัมปทาน ไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. 2578 สำหรับทางด่วนขั้นที่ 2 และอุดรรัถยา (ปากเกร็ด-บางปะอิน)

• ค่าทางด่วน จะไม่ปรับขึ้นราคาจนถึงปี 2571 อีก 10 ปีนับจากนี้ ก็ยังราคาเท่าเดิมต่อไป

• พิเศษ
 โปร ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ ขึ้นทางด่วนฟรี! ไม่เก็บค่าทางด่วนตลอดอายุสัญญา ไปจนถึงปี 2578 อย่างอื่นเราจะไม่สนใจ เพราะไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปเท่าไหร่ แต่ข้อนี้เนี่ยแหละโดนใจสุด กราบขอบพระคุณงามๆ เลยค่า ใช้ฟรีรัวๆ

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ)





ขึ้นทางด่วนฟรี เส้นทางไหนได้บ้าง?

อยากวิ่งฉิวแบบไม่ต้องจ่ายแม้แต่บาทเดียว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าทางด่วนในกรุงเทพฯ มีอยู่หลายเส้นทาง แต่จะมีเพียง 3 เส้นทางเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้บริการได้ฟรี! ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ ถ้าเกิดขึ้นทางด่วนผิดอัน แล้วไปเถียงพนักงานว่าขึ้นฟรีไม่ใช่หรอ หน้าแตกหมอไม่รับเย็บเลยนะ โดยเส้นทางที่ใช้ฟรีจะเปิดเฉพาะช่องเงินสดอย่างเดียว ขับผ่านไปได้เลย ไม่ต้องจ่ายเงิน ส่วนใครใช้บัตร Easy Pass ก็ไม่ต้องเข้าช่องอัตโนมัติ ช่องไหนเปิดขับผ่านไปโล้ด




(ขอบคุณภาพประกอบจาก บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด มหาชน)





3 เส้นทางเดินทางฟรีในวันหยุดราชการ ประกอบด้วย

• ทางด่วนขั้นที่ 1 (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ก็คือทางด่วนช่วงแรก เส้นทางเริ่มตั้งแต่บางนา พระราม 4 สุขุมวิท สาทร ดาวคะนอง ดินแดง จากในแผนที่ก็คือเส้นสีเขียวนั่นเอง

• ทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางพิเศษศรีรัช) แบ่งเป็นส่วน A-B (สีชมพู) และ C-D (สีเหลือง) ซึ่งขยายเส้นทางจากเดิม เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

• ทางด่วนอุดรรัถยา (ปากเกร็ด-บางปะอิน) จากในแผนที่คือเส้นสีส้มด้านบนสุด เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะใกล้กับอิมแพ็ค เมืองทองธานี ไปจนถึงตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ฝั่งตะวันตกเลย

ส่วนเส้นทางสายสีน้ำเงิน (ทางด่วนฉลองรัช) และสีม่วง (ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก) ในแผนที่ จะต้องจ่ายค่าทางด่วนตามปกติ ไม่ได้รับการยกเว้นเก็บเงินในช่วงวันหยุดด้วยนะเออ อย่าลืมตรวจสอบเส้นทางให้ดีว่าทางด่วนที่เราใช้บริการเนี่ย ขึ้นฟรีรึเปล่าเอ่ย






ขึ้นทางด่วนฟรี วันไหนได้บ้าง?

หลายคนคงจะเกิดคำถาม (ภายในใจเป็นหมื่นล้านคำ) เอ๊ะ แล้วเราจะได้ใช้ โปรโมชั่น ทางด่วนฟรี วันไหนบ้างอะแกรรร เฉพาะช่วงไวรัสโควิด-19 เท่านั้นหรอ ป่าวเลยจ๊ะ เพราะจะได้ใช้บริการฟรีสูงสุดถึง 19 วันต่อปี ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ยาวไปถึงโน้นเลยจ้า ปี 2578 ยาวไปอีกเกือบ 15 ปีกันเลยทีเดียว โดยอ้างอิงจากวันหยุดราชการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในแต่ละปีนั่นเอง จะมีวันไหนบ้าง มาดูกันเร้ววว~





• วันขึ้นปีใหม่ : วันที่ 1 ม.ค.

• วันมาฆบูชา : วันที่ไม่แน่นอน (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) แตกต่างกันไปในแต่ละปี ในปี 63 ตรงกับวันที่ 8 ก.พ.

• วันจักรี : วันที่ 6 เม.ย.

• วันสงกรานต์ : วันที่ 13 เม.ย. (ปี 63 เลื่อนออกไปก่อน)

• วันสงกรานต์ : วันที่ 14 เม.ย. (ปี 63 เลื่อนออกไปก่อน)

• วันสงกรานต์ : วันที่ 15 เม.ย. (ปี 63 เลื่อนออกไปก่อน)

• วันฉัตรมงคล : วันที่ 4 พ.ค.

• วันวิสาขบูชา : วันที่ไม่แน่นอน (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) แตกต่างกันไปในแต่ละปี ปี 63 ตรงกับวันที่ 6 พ.ค.

• วันพืชมงคล : วันที่ 11 พ.ค. (ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน)

• วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ?: วันที่ 3 มิ.ย.

• วันอาสาฬหบูชา : วันที่ไม่แน่นอน (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) แตกต่างกันไปในแต่ละปี

• วันเข้าพรรษา : วันที่ไม่แน่นอน (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) แตกต่างกันไปในแต่ละปี

• วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว : วันที่ 28 ก.ค.

• วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ : วันที่ 12 ส.ค.

• วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร : วันที่ 13 ต.ค.

• วันปิยมหาราช : วันที่ 23 ต.ค.

• วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ : วันที่ 5 ธ.ค.

• วันรัฐธรมนูญ : วันที่ 10 ธ.ค.

• วันสิ้นปี : วันที่ 31 ธ.ค.

ลองดูแล้วเหมือนบางวันจะหายไปเลยรึป่าวน้า สำหรับ "วันแรงงานแห่งชาติ" ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี จะไม่ถือเป็นวันหยุดราชการเน้อ แต่เป็นวันหยุดของภาคเอกชน เลยไม่ได้รับสิทธิ์ขึ้นทางด่วนฟรี ก็จ่ายเงินตามปกติกันไป และสำหรับช่วง "เทศกาลสงกรานต์" ของปี 63 (วันที่ 13-15 เม.ย. 63) ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศเลื่อนวันหยุดออกไปก่อน จากสถานการณ์ของบ้านเมืองที่ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ และจะชดเชยให้ในภายหลัง ก็จะได้สิทธิ์ขึ้นทางด่วนฟรีย้อนหลังด้วย รอติดตามกันให้ดีเชียว ของฟรีเราจะไม่มีพลาดแน่น๊อนนน~






ปันโปรสรุปให้

• ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ สามารถใช้บริการทางด่วนขั้นที่ 1, ขั้นที่ 2 และทางด่วนอุดรรัถยา แบบไม่ต้องจ่ายเงินค่าผ่านทาง ขับรถวิ่งฉิวใช้บริการได้เลย แถมยังไม่จำกัดจำนวนครั้งด้วยนะ

• ในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ อยากให้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นก็พอ ถ้าหากไม่จำเป็นก็เลี่ยงการเดินทางในช่วงนี้ไปก่อน ไว้ค่อยมาจัดเต็มกันอีกทีนึงก็ได้ ยังมีอีกหลายวันในปีนี้

• วันหยุดทางด่วนมันก็จะโล่งๆ หน่อย อย่าเหยียบคันเร่งเพลินเชียว ใบสั่งจะตามมาถึงบ้านแบบไม่รู้ตัว รักษาความเร็วที่กฎหมายกำหนด และมีระเบียบวินัยในการขับขี่ด้วย สังคมเราจะได้น่าอยู่




#SaveForMore #Saveค่าทางด่วน #Saveเงินในกระเป๋า