-
จิปาถะ อื่นๆ
-
promotion
-
0
-
08 เม.ย. 2563 12:04
-
125.24.175.***
ทฤษฎีของ "นาฬิกาชีวิต" ที่เราได้ยินกัน
แท้จริงคืออะไร แล้วจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ไหม
เชื่อได้ว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินกับเรื่องทฤษฎีของ "นาฬิกาชีวิต" ที่ว่าคนเราควรทำสิ่งต่างๆ ตามเวลาของร่างกายแล้วจะช่วยทำให้เรามีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อนๆ คิดอย่างไรกันบ้างกับเรื่องนี้ แล้วถ้าเราอยากปรับนาฬิกาชีวิตของเราให้ตรงบ้างล่ะต้องทำยังไง แล้วถ้าไม่ทำจะมีผลเสียอะไรตามมาไหม ใครที่อยากรู้คำตอบในเรื่องนี้ ตาม พี่ โปร มาเลยเพราะวันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว
นาฬิกาชีวิตคืออะไร
นาฬิกาชีวิต หากจะให้ พี่ promotion อธิบาบเข้าใจง่ายๆ เลยก็คือ ระบบการทำงานของส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย การทำงานของอวัยวะ ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงเที่ยงคืนหมุนวนไปเรื่อยๆ โดยสิ่งนี้จะถูกควบคุมได้จากสองปัจจัยหลักๆ นั่นก็คือ แสงแดดและอุณหภูมิ ซึ่งเมื่อเราตื่นเช้าขึ้นมาพอร่างกายได้รับแสงและอุณหภูมิในระดับที่พอดีแล้ว ร่างกายของเราก็จะเริ่มทำงานตามระบบวงจรของในแต่ละวันนั่นเอง
เวลานี้เราควรทำอะไร
เพราะร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญมากมาย ช่วงเวลาในการทำงานของแต่ละอย่างจึงไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราไปดูกันเลยดีกว่าว่าตั้งแต่เที่ยงวันยันเที่ยงคืนร่างกายของเราส่วนต่างๆ ทำงานตอนไหนและเราควรทำอะไรในช่วงเวลานั้นๆ
• ช่วงเวลา 01.00-03.00 น เป็นเวลาทำงานของตับ >> ตับจะทำงานในขณะที่เรานอนหลับฉะนั้นในช่วงเวลานี้ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• ช่วงเวลา 03.00-05.00 น. เป็นเวลาทำงานของปอด >> ตื่นนอนขึ้นมารับอากาศบริสุทธิ์ในช่วงเช้าจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น
• ช่วงเวลา 05.00-07.00 น. เป็นเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่ >> ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่เหมาะที่สุดในการขับถ่าย
• ช่วงเวลา 07.00-09.00 น. เป็นเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร >> ทานอาหารเช้าให้ตรงเวลาเพื่อเพิ่มพลังงานก่อนออกไปลุยงานในเช้าวันใหม่
• ช่วงเวลา 09.00-11.00 น. เป็นเวลาทำงานของม้ามและตับอ่อน >> ร่างกายกระปรี้กระเปร่า พร้อมลุยงานเต็มที่
• ช่วงเวลา 11.00-13.00 น. เป็นเวลาทำงานของหัวใจ >> ช่วงนี้ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดเพราะเป็นช่วงที่หัวใจทำงานหนัก
• ช่วงเวลา 13.00-15.00 น. เป็นเวลาทำงานของลำไส้เล็ก >> งดทานอาหารและของจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ เพราะจะรบกวนการทำงานของลำไส้เล็ก
• ช่วงเวลา 15.00-17.00 น. เป็นเวลาทำงานของกระเพาะปัสสาวะ >> ควรดื่มน้ำเยอะๆ เพราะเป็นช่วงที่กระเพาะปัสสาวะรอกำจัดของเสียออกจากร่างกาย
• ช่วงเวลา 17.00-19.00 น. เป็นเวลาทำงานของไต >> ยังไม่ควรนอนเพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ควรออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น
• ช่วงเวลา 19.00-21.00 น. เป็นเวลาทำงานของเยื้อหุ้มหัวใจ >> ไม่ควรทานอาหารเยอะๆ หรือออกกำลังกายหนักๆ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ แต่ควรทำจิตใจให้สงบเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนเข้านอน
• ช่วงเวลา 21.00-23.00 น. เป็นเวลาทำงานของอุณหภูมิในร่างกาย >> ทำร่างกายของเราให้อบอุ่น จิบน้ำเล็กน้อยแล้วจึงเข้านอน
• ช่วงเวลา 23.00-01.00 น. เป็นเวลาทำงานของถุงน้ำดี >> การจิบน้ำในช่วง 21.00 - 23.00 น. จะทำให้เป็นผลดีกับถุงน้ำดี
นาฬิกาชีวิตสำคัญยังไง
อวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของเรามีหน้าที่และเวลาในการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งหากยิ่งเราดูแลตัวเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับร่างกาย อย่างเช่น ในช่วงบ่ายโมงถึงบ่ายสามเราควรงดทานอาหารหรือขนมต่างๆ โดยอาจจะเปลี่ยนเป็นทานทุกอย่างให้เสร็จภายในมื้อเที่ยง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีเพราะนอกจากจะช่วยปรับไม่ให้เรากลายเป็นคนทานจิกจุกแล้ว ยังช่วยป้องกันการรบกวนการทำงานของสำไล้เล็กอีกด้วย พี่ โปรโมชั่น สรุปง่ายๆ เลยก็คือ "นาฬิกาชีวิต" จะมีความสำคัญก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนแปลงตัวเองและมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับร่างกาย
ปรับนาฬิกาให้ตรงเริ่มง่ายๆ เพียงแค่
เพราะเราแต่ละคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งการจะปรับเปลี่ยนนาฬิกาของเราให้ตรงเวลาแบบเป๊ะๆ ทุกขั้นตอนอาจจะเป็นเรื่องที่ยากเกินไป ดังนั้นการหันมาปรับเปลี่ยนแบบทางสายกลางจึงถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเราเองก็สามารถทำได้และไม่เดือดร้อนตัวเองด้วย โดยเริ่มแรกเราอาจจะเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ อย่างเช่น เปลี่ยนเวลานอน จากที่เคยนอนตีสองตีสามก็ปรับเป็นสักประมาณสี่ห้าทุ่ม ซึ่งตอนแรกๆ เราอาจจะยังนอนไม่หลับแต่เชื่อเถอะพอปรับและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ร่างกายของเราจะค่อยๆ ฝึกไปได้เอง รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย ทั้ง การเลือกรับประทานอาหาร, การออกกำลังกาย, การลดความเครียด, ขับถ่ายให้เป็นเวลา ฯลฯ
เมื่อนาฬิกาชีวิตพัง จะซ่อมยังไง
ในชีวิตของคนเรามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราต้องโฟกัส ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว, ญาติพี่น้อง, เพื่อนฝูง, เรื่องงาน, เรื่องเรียน, การใช้ชีวิต และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งอาจจะทำให้ในบางครั้งเราละเลยหรือมองข้ามเรื่องของสุขภาพร่างกายไปได้ อย่างเช่น นอนดึก, ทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์, ภาวะความเครียด ฯลฯ ซึ่งหากปล่อยไว้ย่อมส่งผลที่ไม่ดีแน่ๆ อาจทำให้นาฬิกาชีวิตของเราชำรุดหรือพังได้ ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันเรามาเช็กลิสต์กันหน่อยดีกว่าว่ามีสิ่งไหนบ้างที่เราควรทำหรือหลีกเลี่ยง
• การนอน หลีกเลี่ยงการนอนดึกและนอนไม่เป็นเวลา โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้านอนให้เร็วและตรงเวลาเพื่อให้ร่างกายของเรารีเซ็ตระบบ จำเวลาเข้านอนและตื่นนอนได้ดียิ่งขึ้น
• หลีกเลี่ยงการนอนตอนกลางวันหรือถ้าหากเพลียจริงๆ ก็สามารถงีบได้แต่ไม่ควรเกิน 20 นาที เพราะพฤติกรรมเช่นนี้จะทำให้เรารู้สึกไม่ง่วงในตอนกลางคืน
• แสงสีฟ้าจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีผลทำให้ร่างกายของเราตื่นตัว ฉะนั้นทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการเล่นโทรศัพท์ในช่วงก่อนเข้านอน
• เรื่องการขับถ่ายถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม ควรขับถ่ายให้เป็นเวลาและดื่มน้ำ 1-2 แก้วตอนตื่นนอนเพื่อเป็นการกระตุ้นร่างกาย
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแบบง่ายๆ อย่างเช่น วิ่งเหยาะๆ เดินรอบบ้าน กระโดดเชือก ฯลฯ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อให้สุขภาพร่างกายของเราแข็งแรง
เพราะสุขภาพร่างกายถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นการดูแลตัวเราให้ดีอยู่เสมอๆ จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากเรายังไม่เปลี่ยนแปลงหรือละเลยกับสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ในอนาคตอาจจะทำให้โรคภัยต่างๆ ตามมาได้
ปันโปรสรุปให้
• นาฬิกาชีวิตถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตและร่างกายของเราสมดุลยิ่งขึ้น
• สำหรับใครที่อยากลองนำไปปรับใช้ เพื่อนๆ อาจจะลองทำตารางนาฬิกาชีวิตแล้วนำไปแปะไว้บนกำแพงบ้าน ก็ช่วยให้ดูได้ง่ายขึ้นนะ
• ที่สำคัญไม่ว่างานจะยุ่งแค่ไหนก็อย่าลืมหาเวลาว่างๆ ไปออกกำลังกายกันด้วยนะทุกคน ด้วยความห่วงใยจากปันโปร ^^
App Punpro โหลดเลย ทั้งแจ้งโปร มีดิลร้อนลดราคาแรงๆ และบริการรับหิ้วสินค้าให้พร้อม
คลิ๊กเลย!!!
v
v