เข้าใจพิธีไหว้ครู สานต่ออย่างสร้างสรรค์
- จิปาถะ อื่นๆ
- ritcha
- 0
- 10 ก.พ. 2563 16:17
- 195.181.166.***
ในทุกช่วงเริ่มต้นปีการศึกษา นักเรียนและนิสิตจะทำพิธีไหว้ครู อันเป็นประเพณีสำคัญที่สะท้อนและถักทอสายใยแห่งความสัมพันธ์ของ ศิษย์กับครูมาแต่อดีต แม้ในวันนี้ ความเข้าใจ ความหมายและรูปแบบ บางอย่างของพิธีกรรมไหว้ครูจะแปรเปลี่ยนไปบ้าง แต่สังคมไทยก็ยกย่องครูดังคำเปรียบที่ว่า “ครูเป็นเสมือนพ่อแม่คนที่ 2 ของศิษย์” และยกให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็นวันครูแห่งชาติ“หัวใจของความเป็นครูอยู่ที่การเป็นต้นแบบผู้ดำรงชีวิตที่ดี ความเสียสละ เหมือนแม่พ่อที่คอยดูแลลูก รักและผูกพัน จึงเกิดคำว่า “ลูกศิษย์” ศ.กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต สาขาวิชานาฏกรรม กล่าวในงานประชุมวิชาการระดับชาติ “ครูและพิธีกรรมไหว้ครูในวัฒนธรรมไทย” ที่จุฬาฯ เมื่อปลายปีที่แล้ว จัดโดยสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา ซึ่งประกอบด้วยราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านอักษรศาสตร์และศิลปกรรมแขนงต่างๆในการปาฐกถาเรื่อง “จิตวิญญาณครู” ศ.กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ วิพากษ์ครูในปัจจุบันนี้ว่า มีจำนวนไม่น้อยที่ได้ขายจิตวิญญาณครูแลกกับตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์และเงินตรา“จิตวิญญาณในที่นี้ไม่ได้หมายถึงภูตผีปีศาจ แต่หมายถึง สภาวะจิตที่ได้ฝึกฝนดีแล้ว อันเป็นต้นทางของความเมตตากรุณา สุนทรียภาพ และสันติภาพ ครูต้องสอนให้ลูกศิษย์พ้นจากการกักขังทางความคิดและจินตนาการ มีอิสรภาพ ออกนอกกรอบ คิดเองได้ด้วยวิถีแห่งปัญญา มีพลัง สติ และอดทน”ในงานประชุมวิชาการมีการอภิปราย “ครูและพิธีกรรมไหว้ครูในวัฒนธรรมไทย” ในหลายรูปแบบ เช่น ครูและพิธีไหว้ครูแพทย์ อ.ละออง พุทธมอญ เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม>>slotxo