4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พร บ รถยนต์

  • จิปาถะ อื่นๆ
  • mahamongkol
  • 0
  • 21 ก.ค. 2562 16:01
  • 184.22.211.***

ทุกคนไม่ว่าจะมีรถหรือไม่มีรถก็ตามต้องเคยได้ยินคำว่า พร บ กันอยู่แล้ว แต่คำว่าเคยได้ยินกับรู้จักอาจต่างกันอยู่บ้าง เพราะเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ยังมีอะไรน่าสนใจอีกมากมายให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม จึงอยากนำเสนอเกี่ยวกับ 4 เรื่องน่ารู้ว่า พ.ร.บ. ที่รถทุกคันต้องมีไม่ใช่แค่การติดไว้เพื่อถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

  1. ทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. รถยนต์

พรบ รถยนต์ ถือเป็น ประกันรถยนต์ ภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องทำตามกฎหมาย พูดง่าย ๆ คือต้องมีการดำเนินการต่อในทุก ๆ ปีหากรถคันนั้นยังคงถูกใช้งานอยู่ รถยนต์ทุกคันจำเป็นต้องมีการทำตรงนี้ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนจึงจะสามารถทำการต่อทะเบียนรถยนต์ได้ สาระสำคัญก็คืออย่างน้อยที่สุดหากไม่มีได้มีการทำประกันภาคสมัครใจอย่าง ประกัน ชั้น 1, ประกัน ชั้น 2 หรือประกันชั้นอื่น ๆ ไว้ก็ตาม ผู้ขับขี่และผู้โดยสารก็ยังคงมีไว้ซึ่งความปลอดภัย รวมถึงยังนับเป็นสวัสดิการพื้นฐานของคนไทยที่ต้องได้รับหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นจากการขับขี่บนท้องถนน อีกทั้งสมัยนี้เราสามารถ ต่อ พร บ ออนไลน์ ได้ด้วย

  1. สิทธิ์ที่ได้รับจากการมี พ.ร.บ. รถยนต์

แม้รถคันไหนก็ตามจะไม่ได้มีการทำประกันภัยภาคสมัครใจเอาไว้แต่หากท่านได้ทำ พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายกำหนดก็มีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเช่นกัน โดยสิทธิ์ดังกล่าวประกอบไปด้วย

  1. ค่าเสียหายที่ได้รับเบื้องต้น สิทธิ์นี้หากเกิดอุบัติเหตุสามารถรับได้ทันทีไม่ต้องรอการตรวจสอบใด ๆ ทั้งสิ้นประกอบไปด้วย
  • กรณีบาดเจ็บได้รับค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย
  • ทุพพลภาพถาวร บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตไม่เกิน 35.000 บาทต่อราย
  • สามารถรับสิทธิ์ได้ต่อรายไม่เกิน 65,000 บาท
  1. ค่าสินไหมที่ได้รับแบบทดแทนเกินจากการได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น ประกอบไปด้วย
  • หากบาดเจ็บแล้วเข้ารับการรักษาพยาบาลไม่เกิน 80,000 บาทต่อราย
  • ได้รับความพิการทางร่างกาย จิตใจ ทุพพลภาพถาวรรับเงินสูงสุด 300,000 บาทต่อราย ทั้งนี้อยู่ที่อวัยวะ
  • กรณีเสียชีวิตได้รับเงิน 300,000 บาทต่อราย
  • ได้รับค่าชดเชยกรณีเข้ารักษาแล้วนอนโรงพยาบาลวันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน
  1. เมื่อต้องการเคลม พ.ร.บ. ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
  • ใบรับแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบันทึกประจำวัน
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้เกิดเหตุหรือใบมรณภาพ
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้สืบสกุล
  • ใบรับรองแพทย์พร้อมด้วยใบเสร็จที่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  1. ไม่ทำ พ.ร.บ. จะเกิดอะไรขึ้น

จาก พรบ ที่คุ้มครองผู้ประสบภัยในปี พ.ศ. 2535 มีการกำหนดเอาไว้ในมาตรา 7 ระบุไว้ว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของรถหรือมีรถไว้ในครอบครองต้องมีการประกันค่าเสียเอาไว้แก่ผู้ประสบภัย หากไม่ทำมีโทษปรับตามมาตรา 39 ไม่เกิน 10,000 บาท

จริง ๆ แล้วยุคนี้เราสามารถ ต่อ พร บ ออนไลน์ ได้ง่าย ๆ ภายในไม่กี่นาที หรือเวลาเราซื้อ ประกันรถยนต์ที่ไหนดี ประกัน ชั้น 1, ประกัน ชั้น 2 ก็สามารถให้บริษัทประกันช่วยต่อให้เลยก็ได้ ดีกว่าต้องเสียค่าปรับภายหลัง