ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทั้งทีรถยนต์ประเภทใดบ้างที่สามารถต่อได้ ?
- จิปาถะ อื่นๆ
- mahamongkol
- 0
- 02 มิ.ย. 2562 12:05
- 171.99.158.***
ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ทั้งทีรถยนต์ประเภทใดบ้างที่สามารถต่อได้ ?
หนึ่งในยานพาหะที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้เป็นเจ้าของได้เป็นอย่างดีนั้นก็คือ รถยนต์ นั้นเองไม่ว่าจะเดินทางใกล้หรือไกล แต่การขับรถยนต์ด้วยตนเองก็ย่อมสะดวกสบายกว่าการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นอย่างมาก เพราะการที่มีรถยนต์เป็นของตัวเองนั้นทำให้ผู้ขับขี่สามารถตัดสินใจได้ว่าเราจะเลือกสถานที่ที่จะแวะพักได้ได้ตามความต้องการ แตกต่างจากการใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่จะพาไปถึงเฉพาะจุดหมายปลายทางที่ถูกกำหนดเอาไว้เท่านั้น แต่การจะเป็นเจ้าของรถสักคันนั้นเจ้าของรถเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นั่นก็คือการ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งการทำพรบ. และการตรวจสอบสภาพรถยนต์เมื่อครบอายุการใช้งานนั้น เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมออนไลน์กับหน่วยงานราชการที่ช่วยทำให้คุณสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเจ้าของรถยนต์ผู้ขับขี่นั้นไม่ต้องเสียเวลาเพื่อเดินทางไปที่กรมขนส่งโดยเฉพาะ หรืออาจจะต้องไปเพื่อเสียเวลาต่อคิวนาน ๆ นั่นเอง ซึ่งการชำระค่าภาษีผ่านระบบออนไลน์นั้นสามารถทำได้แค่กับรถยนต์บางประเภท ดังต่อไปนี้
- ประเภทรถที่สามารถ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้ แม้ว่ากรมขนส่งจะเปิดโอกาสให้เจ้าของรถยนต์สามารถชำระ ค่าภาษีรถยนต์ ผ่านระบบออนไลน์ได้สะดวก แต่ก็จะอำนวยความสะดวกเฉพาะรถยนต์ 3 ประเภทเท่านั้น ได้แก่ รถยนต์ 4 ประตู รถตู้ และรถกระบะ ยังไม่ให้การรับรองในกรณีของรถบรรทุก และรถโดยสารมากกว่า 7 ที่นั่งขึ้นไป เพราะรถเหล่านี้จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตามวิธีการที่กรมขนส่งทางบกกำหนดเอาไว้เท่านั้น ซึ่งระบบออนไลน์ในการเสียภาษีขณะนี้จะยังไม่รองรับนั่นเอง
- การคำนวณอัตราภาษีที่แตกต่างกัน การคำนวณอัตราภาษีของรถยนต์แต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน โดยกรณี ภาษีรถยนต์ 4 ประตู และ ภาษีรถกระบะ จะคำนวณตามอัตรากำลังของเครื่องยนต์ในอัตราที่เท่ากัน กว่าคือในช่วง 600 cc แรกอัตราภาษีจะอยู่ที่ cc ละ 0.50 บาท แต่ในช่วง 601 – 1200 cc ต่อมา อัตราภาษีจะอยู่ที่ 1.50 บาทต่อ cc แต่หากรถมีกำลังมากเกินกว่า 1200 cc อัตราภาษีจะเป็น 4 บาทต่อ cc ส่วนในกรณีของรถตู้อัตราภาษีจะพิจารณาตามน้ำหนักของตัวรถโดยที่น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 450 บาท แต่หากน้ำหนักรถอยู่ที่ 751 – 1000 กิโลกรัม อัตราภาษีจะเป็น 600 บาท น้ำหนักรถอยู่ที่ 1001 – 1250 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 750 บาท กรณีน้ำหนักรถอยู่ที่ 1251 – 1500 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 900 บาท น้ำหนักรถที่ 1501 – 1750 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,050 บาท ส่วนน้ำหนักรถที่ 1751 – 2000 กิโลกรัม อัตราภาษีคือ 1,350 บาท และกรณีที่น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม คิดอัตราภาษี 1,650 บาท
- กรณีรถยนต์ชำระภาษีเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของรถยนต์บางคนที่พบปัญหาว่าได้ชำระ ภาษีรถเก๋ง เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด คือเกินกว่าระยะเวลา 1 ปีมาแล้ว จะสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ได้หรือไม่ ซึ่งระบบออนไลน์ของกรมขนส่งนั้นสามารถรองรับรถที่มีการชำระภาษีเกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ด้วย แต่ก็จะมีอัตราเปรียบเทียบปรับที่เจ้าของรถจะต้องชำระเพิ่มเติมด้วย โดยคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 ของอัตราภาษีที่จะต้องชำระ ยิ่งนานหลายเดือนค่าปรับก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และหากนานเกินกว่า 3 ปี เจ้าของรถจะถูกยึดเลขทะเบียน ซึ่งจะยิ่งยุ่งยากในการดำเนินการและภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น
- รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานหลายปี กรณีรถยนต์มีอายุการใช้งานมากกว่า 6 ปีขึ้นไป อัตราภาษีจะเริ่มลดลงตามอัตราที่กรมขนส่งกำหนด แต่ในกรณีที่รถมีอายุการใช้งานมากกว่า 7 ปีขึ้นไป เจ้าของรถจะต้องนำรถเข้าไปตรวจสภาพรถยนต์ก่อน ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ โดยการตรวจสอบสภาพของรถยนต์จะต้องดำเนินการโดยหน่วยงานที่ทางกรมขนส่งอนุญาต สังเกตได้จากสัญลักษณ์ ตรอ. นั่นเอง
หลังจากตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ผู้ครอบครองรถยนต์ที่อยู่ในเกณฑ์การให้บริการของกรมขนส่งก็สามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งหากมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้โดยดูจากเว็บไซต์ของกรมขนส่ง และเมื่อยื่นเรื่องแล้วเจ้าของรถยังสามารถติดตามสถานะการดำเนินการต่อภาษีรถยนต์แบบออนไลน์ได้ตลอดเวลาอีกด้วย ถือเป็นความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมที่ดีกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก