พรบ รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง
- จิปาถะ อื่นๆ
- mahamongkol
- 0
- 26 พ.ค. 2562 12:36
- 223.207.244.***
ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หรือความเสี่ยงภัยต่างๆ ทั้งที่อาจจะเกิดกับตัวรถเรา หรือเกิดกับบุคคลอื่น ก็ล้วนจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวยิ่งนัก เพราะคงไม่อยากให้มีใครเกิดความสูญเสียขึ้นมา หรือถ้ามันเป็นอุบัติเหตุจริงๆ การชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ที่ตามมาก็อาจจะหนักหน่วง จึงทำให้เราจำเป็นต้องเกิด พรบ รถยนต์ ขึ้นมา หรือ การต่อประกันรถยนต์ชั้น 1 ประกันรถยนต์ 2 หรือประกันรถยนต์ชั้น 3 กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นไปให้กับบริษัทเหล่านั้น เป็นผู้ชดใช้ตามข้อตกลงที่ทำกันไว้นั่นเอง
พรบ ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พรบ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะเป็นกฎหมายที่ให้การคุ้มครองผู้ที่เกิดเหตุประสบภัยขึ้นมา โดยจะเป็นกฎหมายที่บังคับให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำไว้และมีหลักประกันให้กับรถทุคัน เนื่องจากว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุ ก็จะได้สามารถได้รับความคุ้มครองทั้งเงินค่ารักษาพยาบาลในการเกิดอุบัติเหตุ หรือเงินช่วยเหลือเยียวยาในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีนั่นเองครับ ซึ่งจะว่าไปแล้ว พรบ ก็เหมือนจะคล้ายๆ กับการเป็นประกันภัยรถยนต์นั่นเอง แต่อาจจะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีที่เราไปทำให้เกิดความเสียหาย โดยความคุ้มครองของ พรบ นั้นมีอยู่หลายรูปแบบที่พวกเราอาจจะยังไม่รู้ ดังนี้
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น คือ ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูกคุณจะได้รับการชดเชยโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ฝ่ายถูกฝ่ายผิด โดยมีเงินชดเชยสูงสุด ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ทุกกรณี) จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
- การสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต จ่ายเงินชดเชยสูงสุด 35,000 บาท/คน
2. ค่าสินไหมทดแทน คือ การจ่ายค่าสินไหมที่ต้องพิสูจน์ก่อนว่าใครเป็นฝ่ายผิดและฝ่ายถูก หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายถูกตามกฎหมาย จะได้รับความคุ้มครองรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ จ่ายตามค่ารักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1) สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือเสียแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือเสียขา หรือตาบอด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งรวมกันตั้งแต่ 2 กรณีขึ้นไปชดเชย 300,000 บาท
2) สูญเสียมือตั้งแต่ข้อมือ หรือเสียแขน หรือเท้าตั้งแต่ข้อเท้า หรือเสียขา หรือสายตา(ตาบอดแบบไม่สามารถมองเห็นได้เลย) หรือ หูหนวกเป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูดหรือลิ้นขาด หรือสูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถในการสืบพันธุ์ หรือจิตพิการอย่างติดตัว หรือเสียอวัยวะอื่นใดชดเชย 250,000 บาท
3) สูญเสียนิ้วตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป ไม่ว่านิ้วเดียว หรือ หลายนิ้วชดเชย 200,000 บาท
3. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีเป็นผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วันหรือไม่เกิน 4,000 บาท
การทำ พรบ รถยนต์ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งที่บังคับด้วยกฎหมาย ที่รถทุกคันที่จดทะเบียนจะต้องทำการต่อพรบ โดยในปัจจุบันก็สามารถต่อ พรบ ออนไลน์ได้แล้วนะครับ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน อีกทั้งยังช่วยให้เราอุ่นใจจากการใช้รถใช้ถนนอีกด้วย เพราะผลความคุ้มครองจาก พรบ นั้น ก็จะช่วยให้เราสามารถชดเชยค่าเสียหายต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของชีวิต ได้อย่างทันท่วงทีก่อนที่จะสูญเสียไปมากกว่าเดิมนั่นเอง